วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

ความหมายของไบโอม


ความหมายของไบโอม

ไบโอม (Biomes) หรือ ชีวนิเวศ คือระบบนิเวศใดๆ ก็ตามที่มีองค์ประกอบของปัจจัยทางกายภาพเช่นอุณหภูมิ ความชื้น และปัจจัยทางชีวภาพ เช่น พืชและสัตว์ ที่คล้ายคลึงกันกระจายอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ต่างๆ
   
          ประเภทของไบโอม แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
              1 ไบโอมบนบก
              2 ไบโอมในน้ำ


ไบโอมบนบก

         แบ่งออกเป็น 7 ประเภท  ได้แก่
            1 ไบโอมป่าดิบชื้น
            2 ไบโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น
            3 ไบโอมป่าสน
            4 ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่ม
            5 ไบโอมสะวันนา
            6 ไบโอมทะเลหราย
            7 ไบโอมทุนดรา

ไบโอมในน้ำ

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

            1 ไบโอมน้ำจืด
            2 ไบโอมน้ำเค็ม
            3 ไบโอมน้ำกร่อย

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

ไบโอมบนบก






ไบโอมบนบก (terrestrial biomes)
       ใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิเป็นตัวกำหนด ไบโอมบนบกที่มีอยู่ในโลกนี้ที่สำคัญที่จะกล่าวถึง ได้แก่ ป่าดิบชื้น ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น สะวันนา ป่าสน ทะเลทราย และทุนดรา เป็นต้น

ป่าดิบชื้น (tropical rain forest)
        พบได้ในบริเวณใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลกในทวีปอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชียตอนใต้ และบริเวณบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิก ลักษณะของภูมิอากาศร้อนและชื้น มีฝนตลอดปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 200-400 เซนติเมตรต่อปี ในป่าชนิดนี้พบพืชและสัตว์หลากหลายนับพันสปีชีส์ เป็นป่าที่มีอุดมสมบูรณ์สูงมาก



ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น (temperate deciduous forest)

      พบกระจายทั่วไปในเขตละติจูดกลาง ซึ่งปริมาณความชื้นเพียงพอที่ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100 เซนติเมตรต่อปีและมีอากาศค่อนข้างเย็น ในป่าชนิดนี้ต้นไม้จะทิ้งใบหรือผลัดใบก่อนที่จะถึงฤดูหนาวและจะเริ่มผลิใบอีกครั้งหลังจากฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว ต้นไม้ที่พบมีหลากหลายทั้งต้นไม้ ไม้พุ่ม รวมถึงพืชล้มลุก


ป่าสน(coniferous forest)

           ป่าสน ป่าไทกา (taiga) และป่าบอเรียล (borealเป็นป่าประเภทเดียวกันที่มีต้นไม้เขียวชอุ่มตลอดปี พบได้ทางตอนใต้ของแคนาดา ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป ในเขตละติจูดตั้งแต่ 45-67 องศาเหนือ ลักษระของภูมิอากาศมีฤดูหนาวค่อนข่างยาวนาน อากาศเย็นและแห้ง พืชเด่นที่พบ ได้แก่ พืชจำพวกสน เช่น ไพน์ (pine) เฟอ (fir) สพรูซ (spruce) และ เฮมลอค (hemlock)


ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (temperate grassland)
      ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น หรือที่รู้จักกันในชื่อของทุ่งหญ้าแพรี่ (prairie) ในตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือ และทุ่งหญ้าสเตปส์ (steppes) ของประเทศรัสเซีย เป็นต้น สภาพภูมิอากาศมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25-50 เซนติเมตรต่อปี ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นนี้เหมาะสำหรับการทำการกสิกรรมและปศุสัตว์ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีหญ้านานาชนิดขึ้นอยู่ ส่วนใหญ่พบมีการทำเกษตรกรรมควบคู่ในพื้นที่นี้ด้วย


สะวันนา (savanna)
      สะวันนา เป็นทุ่งหญ้าที่พบได้ในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปออสเตรเลีย และ พบบ้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ลักษณะของภูมิอากาศร้อน พืชที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าและมีต้นไม้กระจายเป็นหย่อมๆ ในฤดูร้อนมักมีไฟป่าเกิดขึ้นเสมอๆ



ทะเลทราย (desert)

     ทะเลทราย พบได้ทั่วไปในโลกในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี ทะเลทรายบางแห่งร้อนมากมีอุณหภูมิเหนือผิวดินถึง 60 องศาเซลเซียสตลอดวันบางแห่งค่อนข้างหนาวเย็น พืชที่พบในไบโอมทะเลทรายนี้มีการป้องกันการสูญเสียน้ำโดยใบลดรูปเป็นหนาม ลำต้นอวบเก็บสะสมน้ำ ทะเลทรายที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ ทะเลทรายซาฮารา (Sahara) ในทวีปแอฟริกา ทะเลทรายโกบี (Gobi) ในประเทศจีน และทะเลทรายโมฮาวี (Mojave) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของประเทศสหรัฐอเมริกา




       ทุนดรา (tunda)
ทุนดรา เป็นเขตที่มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน ฤดูร้อนช่วงสั้นๆ ลักษณะเด่นคือ ชั้นของดินที่อยู่ต่ำจากผิวชั้นบนลงไปจะจับตัวเป็นน้ำแข็งอย่างถาวร ทุนดราพบทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือและยูเรเซีย พบพืชและสัตว์อาศัยน้อยชนิด ปริมาณฝนตกน้อยมาก ในฤดูร้อนช่วงสั้นๆ น้ำแข็งที่ผิวหน้าดินจะละลาย แต่เนื่องจากน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงไปในชั้นน้ำแข็งได้จึงท่วมขังอยู่บนผิวดิน ทำให้ปลูกพืชได้ในระยะสั้นๆ พืชที่พบจะเป็นพวกไม้ดอกและไม้พุ่ม นอกจากนี้ยังพบพวกสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น ไลเคนด้วย







ไบโอมในน้ำ


ไบโอมในน้ำ

      ไบโอมในน้ำ ที่พบเป็นองค์ประกอบหลักในไบโอสเฟียร์นั้นประกอบด้วย ไบโอมแหล่งน้ำจืด (freshwater biomes) และไบโอมแหล่งน้ำเค็ม (marine biomes) และพบกระจายอยู่ทั่วเขตภูมิศาสตร์ในโลกนี้

       แหล่งน้ำจืด
  โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำนิ่ง เช่น สระ หนองหรือบึง และทะเลสาบกับแหล่งน้ำไหลซึ่งได้แก่ ธารน้ำไหลและแม่น้ำ เป็นต้น




ความหลากหลายในระบบนิเวศ


ความหลากหลายในระบบนิเวศ    





บริเวณต่างๆ ของผิวโลกมีการแบ่งเขตพื้นที่ออกเป็นทวีปตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในแต่ละทวีปจะมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เฉพาะ ซึ่งความแตกต่างกันของลักษณะทางภูมิศาสตร์นี้จะมีผลต่อการกำหนดลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์นั้นด้วย
ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะมีสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ อาศัยอยู่ บ้างก็กระจัดกระจาย บ้างก็อยู่รวมกนเป็นกลุ่ม สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศนั้นต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและชีวภาพ นอกจากนี้ระบบนิเวศนั้นๆ จะอยู่ในสภาวะสมดุลได้ก็ต่อเมื่อมีการถ่ายทอดพลังงานในสิ่งมีชีวิตและมีการการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสารกลับคืนสู่ระบบนิเวศ

การศึกษาระบบนิเวศ


การรักษาระบบนิเวศ
ระบบนิเวศในโลกนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบตามลักษณะของแหล่งที่อยู่อาศัยคือ ระบบนิเวศบนบก (terrestrial ecosystem) และระบบนิเวศในน้ำ (aquatic ecosystem) วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาระบบนิเวศเรียกว่า นิเวศวิทยา (Ecology) ซึ่งเป็นการศึกษาในระดับสิ่งมีชีวิตขึ้นไป
ระบบนิเวศบนบก และระบบนิเวศในน้ำ แม้ว่าจะมีลักษณะของแหล่งที่อยู่อาศัยต่างกันแต่พบว่าทั้งสองระบบนี้ต่างก็มีองค์ประกอบของระบบที่เหมือนกันคือ ประกอบด้วยปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางชีวภาพ นักเรียนทราบหรือไม่ว่าปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางชีวภาพของระบบนิเวศบนบกและระบบนิเวศในน้ำเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

อ้างอิง

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/biomes/index.html

http://archive.wunjun.com/udontham/2/12.html